บทนำ
ในการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคถูกให้ความสำคัญมากขึ้น การใส่รหัสผ่านด้วยตัวเลขคงไม่ใช่คำตอบที่ช่วยสร้างความปลอดภัยได้อีกต่อไป
รายละเอียด
ในการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคถูกให้ความสำคัญมากขึ้น การใส่รหัสผ่านด้วยตัวเลขคงไม่ใช่คำตอบที่ช่วยสร้างความปลอดภัยได้อีกต่อไป ส่วน Fingerprint หรือการสแกนลายนิ้วมือ ยังคงมีเครื่องหมายคำถามว่ามีความสามารถมากพอที่จะรักษาข้อมูลส่วนตัวได้เต็ม 100 เปอร์เซนต์หรือไม่
แม้บางท่านเชื่อว่าการเปลี่ยนรหัสผ่านอยู่เรื่อยๆ จะเป็นการป้องกันเหล่ามิจฉาชีพ หรือแฮกเกอร์ไม่ให้ล่วงล้ำมาขโมยข้อมูลส่วนตัวได้ง่าย แต่ด้วยกลอุบายที่แยบยลที่อาจแฝงโค้ดลับบางอย่างมากับอีเมล์ที่ชวนเชื่อ ประกอบกับความประมาทของตัวเราเอง เช่น ใช้รหัสผ่านเดียวกันมากกว่าหนึ่งบัญชี หรือใช้รหัสผ่านอย่างง่าย ยกตัวอย่าง 1234, เลขวันเดือนปีเกิด ฯ เป็นตัน
เหล่าแฮกเกอร์จึงสบโอกาสนี้ใช้สารพัดวิธีล้วงข้อมูลส่วนตัว และสร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินของเราได้ ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์ นักพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนนักวิจัย ต่างคิดค้นเทคโนโลยีการใส่รหัสผ่านแบบใหม่ ที่อาจนำมาใช้จริงในอนาคต ทดแทนการใส่รหัสผ่านแบบเดิมๆ
1. การใช้ “คลื่นสมอง”
นักวิจัยในต่างประเทศเริ่มมีการศึกษาค้นคว้า และพัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานร่วมกันคลื่นสมองของมนุษย์ สำหรับใช้เป็นรหัสผ่าน ซึ่งล่าสุดนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งของ มหาวิทยาลัยบิงแฮมตัน ในนิวยอร์ค ได้คัดเลือกอาสาสมัคร 45 คนเพื่อทดสอบปฏิกิริยาของคลื่นสมองที่มีต่อคำถาม ซึ่งผลปรากฏว่าแต่ละคนสามารถระบุข้อมูลได้แม่นยำ คิดเป็นค่าเฉลี่ยความถูกต้องถึง 94% โดยนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้เรียกเทคโนโลยีดังกล่าวว่า “brainprints”
2. ใช้ “การเต้นของหัวใจ”
ช่วงต้นปี 58 ที่ผ่านมา บริษัทผู้ผลิตสายรัดข้อมือ Nymi ในแคนาดา ได้เปิดตัวสายรัดข้อมือรูปแบบใหม่ “Nymi Band” เชื่อมต่อได้กับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตผ่านบลูทูธ พร้อมใช้เซนเซอร์แบบไบโอเมทริกซ์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อใช้จังหวะการเต้นของหัวใจเป็นรหัสผ่านในการยืนยันตัวตนสำหรับการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งธนาคาร Halifax ในอังกฤษ ได้เริ่มใช้เทคโนโลยีดังกล่าวทดสอบการใช้บริการด้านการเงินบ้างแล้วด้วย
3. ใช้ “เสียงรบกวนจากรอบด้าน”
อาจจะฟังไม่แปลกเท่าไหร่นักหากเป็นการปลดล็อคหรือยืนยันตัวตนด้วยการใช้เสียง แต่ความแปลกและความซับซ้อนของการใช้เสียงแทนรหัสผ่านในอีกรูปแบบโดยทีมนักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีในซูริค สวิตเซอร์แลนด์ คือ “การใช้เสียงรบกวนจากรอบข้าง” สำหรับเพิ่มความปลอดภัยชั้นที่ 2 (two-factor authentication) ถูกเรียกว่า “Sound-Proof” โดยหากคุณจะเข้าใช้งานเว็บที่มีการตั้งรหัสผ่านด้วยซอฟต์แวร์ Sound-Proof ตัวคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนจะเชื่อมถึงกันและเริ่มฟังเสียง เพื่อตรวจสอบว่าทั้งสองอุปกรณ์ได้ยินเสียงรอบข้างเป็นเสียงเดียวกันหรือไม่ ถ้าใช่ระบบก็จะทำการปลดล็อคให้คุณเข้าถึงเว็บนั้นได้
4. การจดจำใบหน้า
ดูเหมือนว่าเทคโนโลยีจดจำใบหน้าสำหรับการปลดล็อคหรือยืนยันตัวตน เริ่มเห็นมากขึ้นกับเทคโนโลยีหลายชนิดในปีนี้อาทิ Windows 10 ที่ Microsoft คิดค้น Windows Hell ฟีเจอร์การเข้าสู่ระบบโดยการใช้ใบหน้าของผู้ใช้แทนการใส่รหัสผ่าน ซึ่งมีความแม่นยำสูง ถึงขนาดที่ว่าเป็นฝาแฝดกันก็ยังไม่สามารถทดแทนกันได้ หรือจะเป็น Intel RealSense 3D ก็เริ่มมีบทบาทร่วมกับฮารด์แวร์รุ่นใหม่ๆ เช่นเดียวกัน
อ้างอิงจาก : Businessinsider
ที่มา : aripfan